การพัฒนารูปแบบการสอนวิทยาศาสตร์
1. การพัฒนารูปแบบการสอนวิทยาศาสตร์คืออะไร
มีความจำเป็นหรือไม่อย่างไรที่จะต้องพัฒนารูปแบบการสอนดังกล่าวนี้
- การพัฒนารูปแบบการสอนวิทยาศาสตร์หมายถึงการดำเนินการศึกษาและพัฒนารูปแบบการสอนวิทยาศาสตร์โดยใช้วิธีการบูรณาการองค์ความรู้ที่มีลักษณะคล้ายคลึงกันแล้วนำเสนอเป็นแบบแผนที่อาศัยหลักปรัชญา ทฤษฏี แนวคิดมีความจำเป็นหรือไม่อย่างไรที่จะต้องพัฒนารูปแบบการสอนวิทยาศาสตร์ดังกล่าวมีความจำเป็น
เพราะในปัจจุบันการจัดการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์นั้น
เน้นการถ่ายทอดความรู้จากผู้สอนมากกว่าที่จะให้ผู้เรียนลงมือปฏิบัติอย่างเป็นระบบจึงทำให้ผู้เรียนขาดทักษะ
กระบวนการการคิดด้านต่างๆดังนั้นการพัฒนารูปแบบการสอนวิทยาศาสตร์จึงเป็นสิ่งสำคัญที่จะทำให้ผู้สอนจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เหมาะสม
สอดคล้องกับผู้เรียนเพื่อปรับปรุงสภาพการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์
2. จงวิเคราะห์สภาพการจัดการเรียนการสอนวิชาวิทยาศาสตร์ในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานมีประเด็นใดบ้างที่สมควรนำมาเป็นปัญหาเร่งด่วนที่จะต้องวิจัยเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา
- ปัญหาในการจัดการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ในด้านการจัดกิจกรรม
การเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ พบว่าครูส่วนใหญ่ขาดความรู้
ความเข้าใจเกี่ยวกับเทคนิควิธีสอน ซึ่งการจัดการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ปัญหาพบมากคือ การขาดสื่อ วัสดุอุปกรณ์
ทางวิทยาศาสตร์ และงบประมาณในการจัดหาสื่อ
- ปัญหาด้านการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ พบว่าครูขาดความรู้ในการพัฒนา เครื่องมือในการวัดและประเมินผลด้านการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน พบว่า
ครูส่วนใหญ่มีความสนใจในการทำวิจัยปฏิบัติการ แต่ยังขาดความรู้
ความเข้าใจเกี่ยวกับการทำวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน
- การแก้ปัญหาการจัดการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์พบว่าในด้านการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนการวัดและประเมินผลการเรียนรู้และการทำวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนโดยการที่ครูศึกษาหาความรู้
เพิ่มเติมด้วยตนเองและการเข้ารับการอบรมส่วนในด้านสื่อและแหล่งการเรียนรู้ผู้บริหารแก้ปัญหาโดยการจัดสรรงบประมาณตามความจำเป็นแต่ครูต้องจัดสื่อบางประเภทด้วยตนเองส่วนใหญ่จะเป็นการทดลองเพื่อให้นักเรียนได้เห็นกระบวนการแต่ครูไม่มีเทคนิคการทดลอง
ทำให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้มากกว่าเดิมจากเนื้อหา
3. หลักการ แนวคิด ทฤษฏี
ที่นำมาใช้ในการจัดการเรียนการสอนในชั้นเรียนปัจจุบันมีการเป็นไปได้เพียงใด
ในการจัดการศึกษา 3.0 และเมื่อรัฐบาลประกาศจัดการศึกษา 4.0
จะมีความเป็นไปได้หรือไม่อย่างไร
- มีความเป็นไปได้อย่างมากเนื่องจาก Education 3.0 มีพื้นฐานมาจากแนวคิด
web 2.0 ที่ปรับใช้เทคโนโลยีในด้านฮาร์ดแวร์และซอฟแวร์เพื่อเป็นประโยชน์ด้านการศึกษาและมีแนวโน้มเน้นไปที่การสนับสนุนการทำงานร่วมกันในแบบของออนไลน์
การแบ่งความรู้ร่วมกันในกลุ่มผู้เรียน โดยขณะนี้มีความพร้อมและการเติบโตมากับเทคโนโลยี
เครือข่ายอย่างระบบอินเตอร์เน็ตที่กลุ่มผู้เรียนมีความพร้อมในเทคโนโลยีและการเรียนที่ตอบสนองต่อการใช้งานผ่านเครือข่ายเน็ตเวิร์ทมากขึ้นการจัดการเรียนการสอนได้เปลี่ยนรูปแบบไปจากเดิมที่อาจารย์จะเป็นต้นตอความรู้เพียงหนึ่งเดียว
แต่ปัจจุบันอาจารย์กลายมาเป็นผู้ประสานงาน และกำหนดทิศทางของความรู้ที่ได้จากการเข้าถึงแหล่งขอมูลความรู้ต่างๆ
เช่น หนังสือเรียน ห้องสมุด ข้อมูลชุมชน ฐานข้อมูลออนไลน์
ไปจนถึงเครือข่ายอินเตอร์เน็ต
ส่วนการศึกษาในยุค
Thailand
4.0 คือการเตรียมความพร้อมของคนหรือให้ความรู้กับคนเท่านั้นแต่เป็นการเตรียมนุษย์ให้เป็นมนุษย์กล่าวคือ
นอกจากให้ความรู้แล้วต้องทำให้เขาเป็นคนที่รักที่จะเรียนมีคุณธรรมและสามารถอยู่ร่วมกันกับผู้อื่นได้ด้วย
นั้นคือ สร้างคน ให้มีทักษะในศตวรรษที่ 21 โดยเน้นทักษะในการคิดวิเคราะห์เป็นหลักและ
Education 4.0 ยังเป็นการเรียนการสอนที่ให้นักเรียนสามารถนำองค์ความรู้ที่มีอยู่ทุกหนทุกแห่งบนโลกนี้มาบูรณาการเชิงสร้างสรรค์
เพื่อพัฒนานวัตกรรมต่างๆมาตอบสนองความต้องการของสังคม
Education
3.0
|
Education
4.0
|
|
บทบาทหลักของผู้เรียน
|
ทำหน้าที่เป็นผู้ประพันธุ์กิจกรรมความร่วมมือกันในการสร้างความรู้
|
ทำหน้าที่ส่งต่อเพียงข้อมูลความรู้และเป็นผู้อำนวยความสะดวกในการเรียนรู้
|
พฤติกรรมของผู้เรียน
|
Active students
|
Active
learner ,creative learning
|
กิจกกรมการเรียนรู้
|
กิจกรรมการเรียนรู้ที่มุ่งเน้นการสร้างสรรค์โดยผู้เรียนไม่จำกัดกรอบสถาบัน
|
กิจกกรรมที่นักเรียนได้รับทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์และจัดกิจกรรม
|
สื่อและเนื้อหาการเรียนรู้
|
Free lopen
educational
Resource และ reused
|
Work-based
learning,Work-integrated learning, site based learning
|
4. นักศึกษามีความคิดเห็นต่อการเรียนรายวิชา
1042404 การพัฒนารูปแบบการสอนวิทยาศาสตร์อย่างไรบ้าง
มีความคาดหวังต่อการเรียนรายวิชาดังกล่าวนั้นเพื่อที่จะนำไปใช้ในอาชีพครูที่มีคุณภาพตามมาตรฐานวิชาชีพครู
(ตามที่ครุสภากำหนด)
-
การเรียนรายวิชาการพัฒนารูปแบบการสอนวิทยาศาสตร์เป็นการเรียนรู้โดยที่ครูผู้สอนต้องสร้างจินตนาการให้กับผู้เรียนและเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญจากเมื่อก่อนดิฉันได้จัดการเรียนการสอนแบบ
5E แต่เมื่อได้มาเรียนในรายวิชา 1042404 การพัฒนารูปแบบการสอนวิทยาศาสตร์สามารถปรับจาก 5E ให้เป็นรูปแบบใหม่กลุ่มดิฉันเลนคิดรูปแบบการสอนเป็น
P S R ซึ่ง P คือวิเคราะห์มาตรฐาน/ตัวชี้วัด
S คือ การสร้างองค์ความรู้ R คือ
การใช้วิจัยพัฒนาสิ่งแวดล้อมและดิฉันได้นำไปใช้ทดลองสอน 2
นักเรียนระดับมัธยมปรากฏว่าเด็กเกิดการเรียนรู้ที่หลากหลาย และคิดว่าเราสามารถนำรูปแบบการสอนนี้ไปใช้ในอาชีพครูได้ในอนาคตแน่นอน